วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

บทที่ ๗ การใช้งานเกจก้ามปู




หน่วยที่ ๗
 การใช้งานเกจก้ามปู


2.  เกจก้ามปู  (Snap Gauge)
เกจก้ามปูอาศัยหลักการที่ว่า มีปากวัดตรวจสอบขนาดภายนอกอยู่ 2 คู่ เป็นปากวัดด้านพิกัดโตสุดและล่างสุด การวัดไม่สามารถรู้ขนาดงานที่แท้จริง รู้ได้แต่ว่างานที่ทำนั้นดีหรือเสียเท่านั้น
ลักษณะของเกจก้ามปูจะมีอยู่ 3 แบบคือ
2.1  มีปากวัดดี  (GO)  และปากวัดเสีย  (NO GO) อยู่บนลำตัวเดียวกัน แต่คนละข้าง ใช้วัดงานขนาดเล็ก
2.2  มีปากวัดดี  (GO) และปากวัดเสีย  (NO GO) อยู่บนลำตัวเดียวกัน และอยู่ข้างเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อมิให้ลำตัวของเกจยาวเกินไป ใช้วัดงานขนาดใหญ่
2.3  ทั้งปากวัดดี  (GO) และปากวัดเสีย  (NO GO) แยกกันอยู่ตัวละอัน เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บและบำรุงรักษา ใช้วัดเพลาขนาดโตตั้งแต่ 100 มม. ขึ้นไป
ขนาดของเกจจะมีพิกัดบอกกไว้เป็นไมโครเมตร  (UM)

เกจก้ามปูที่ใช้ตรวจสอบขนาดภายนอก                       เกจก้ามปูที่ใช้ตารางสอบเพลา


เท่ากับ  23  0.05  มม.                                   ขนาด  30  d9
          0.1  มม.

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Snap gage


รูปที่ 131  ลักษณะของเกจก้ามปู
การใช้งานของเกจก้ามปู

ขึ้นอยู่กับความรู้สึกสัมผัสของผู้ใช้ โดยมีหลักการใช้งานดังนี้
- ขนาดงานถูกต้อง ชิ้นงานผ่านปากวัดดีแต่ไม่ผ่านปากวัดเสีย ขนาดอยู่ในพิกัด
- ขนาดงานโตเกินไป ชิ้นงานไม่ผ่านปากวัดดี ขนาดของเพลาโตกว่าค่าพิกัด  ความเผื่อ ที่ยอมให้เพลามีขนาดโตสุดได้
-    ขนาดงานเล็กเกินไป ชิ้นงานผ่านได้ทั้งปากวัดดี และปากวัดเสีย ขนาดงานเล็กกว่าพิกัดความเผื่อที่ยอมให้มีขนาดเล็กที่สุดได้


บทที่ ๖ ระดับน้ำเครื่องกล


ระดับน้ำเครื่องกล  (PRECISION  LEVEL)

วัตถุประสงค์ทั่วไป                               เข้าใจเกี่ยวกับระดับน้ำเครื่องกล
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม              หลังจากผ่านการเรียนหน่วยนี้แล้ว ผู้เรียนจะแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้
                                                                1.บอกประโยชน์ของระดับน้ำเครื่องกลได้
                                                                2.บอกรูปร่างและส่วนประกอบของระดับน้ำได้
                                                                3.รายละเอียดของระดับน้ำ
                                                             4. วิธีการใช้งานระดับน้ำเครื่องกล และ  ขั้นตอนการปรับระดับน้ำเครื่องกล
                                                                5.เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต






















ระดับเครื่องกล  (PRECISION  LEVEL)

1.ประโยชน์ของระดับน้ำเครื่องกล

                                ในการติดตั้งเครื่องจักรกลให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพเที่ยงตรง  และมีอายุการทำงานของเครื่องจักรยาว   เนื่องจากมีแรงที่กระทำกับเครื่องจักรในแนวดิ่ง (VERTICAL)  และในแนวระดับ (HORIZONTAL)  เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก  ดังนั้น  การติดตั้งเครื่องจักร  จะต้องตั้งเครื่องจักรให้อยู่ในระดับแนวดิ่งของโลก  เพื่อให้สภาพของชิ้นส่วนต่าง ๆ  ของเครื่องจักรอยู่ในสภาพสมดุลไม่ฝืนแรงโน้มถ่วงของโลก   จึงสร้างเครื่องมือวัดที่สามารถใช้วัดตรวจสอบ  การติดตั้งเครื่องจักรให้ได้แนวระดับและแนวดิ่ง  เครื่องมือวัดนี้  เรียกว่า  ระดับน้ำเครื่องกล (PRECISION  LEVEL)

                                ระดับน้ำเครื่องกลถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดได้ทั้งแนวดิ่ง  และแนวนอนในตัวเดียวกันหรือใช้เพื่อวัดเพียงตัวเดียว  รูปร่างของระดับน้ำเครื่องกลจะถูกสร้างขึ้นมาตามความต้องการของการใช้งาน

               

          precision engineers block spirit level



micrometer adjustable precision engineers block levels       


รูปที่  1  ระดับน้ำเครื่องกลแบบต่าง ๆ




2.รูปร่างและส่วนประกอบของระดับน้ำ

                                                                หลอดแก้ว                    ฟองอากาศ
 

กล่องข้อความ:

                                                                                                                                                                                                                                   
                                ขีดสเกล
สกรูปรับ
 


                                                                       

                          ฐาน
                                   รูปที่  2  ส่วนประกอบของระดับน้ำเครื่องกล
ระดับน้ำเครื่องกล   ( PRECISION  LEVEL )    ระดับน้ำเครื่องกลถือเป็นเครื่องมือวัดแบบ
ขีดสเกล มีทั้งแบบสเกลเมตริกและสเกลอังกฤษ ระดับน้ำจะถูกใช้ในการวัดระดับเพื่อทำการติดตั้งเครื่องมือเครื่องจักรในโรงงานให้อยู่ในแนวระดับที่ต้องการโดยอาศัยกฎการเคลื่อนที่ของของเหลว ซึ่งอุปกรณ์ที่เรียกว่า ระดับน้ำช่างกล นี้สามารถทำการวัดได้ทั้งแนวดิ่งและแนวนอน
1. ฐาน (Base) เป็นส่วนที่จะวางสัมผัสผิวงานที่ต้องการตรวจสอบระดับ ถ้าเป็นแบบวัดได้ในแนวนอนเพียงอย่างเดียว ก็จะมีหน้าเพียงอย่างเดียว ถ้าหากเป็นแบบที่ใช้วัดได้ทั้งแนวดิ่งและแนวนอน จะทำเป็นกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีผิวสัมผัสงานได้ 4 ด้าน ตรงกลางของฐานจะถูกทำเป็นร่องตัววี เพื่อให้วางบนพื้นราบ และบนพื้นงานรูปทรงกระบอกได้
2. หลอดแก้ว (Vial) ทำด้วยหลอดแก้วใส สำหรับใส่ของเหลวทำให้สามารถเห็นการเคลื่อนที่ของเหลวที่อยู่ภายในได้อย่างชัดเจนส่วนระดับน้ำ 1 ตัว จะมีหลอดแก้ว 2 หลอด โดยหลอดใหญ่จะวางอยู่ในแนวยาวตามรูปของฐาน ส่วนหลอดเล็กจะอยู่ขวางในแนวตั้งฉากกับหลอดใหญ่ ทำให้สามารถตรวจสอบได้ 2 ทิศทาง
3. ขีดสเกล (Scale) ขีดสเกลจะอยู่ด้านบนของหลอดแก้วจะถูกขีดเพื่อแสดงให้ทราบว่าการเคลื่อนของฟองอากาศที่เคลื่อนที่ แสดงถึงพื้นที่ ที่มีความเอียงกี่มิลลิเมตรต่อความยาว 1 เมตร หรือกี่นิ้วต่อความยาว 1 ฟุต
                               
4. ฟองอากาศ (Bubble) เกิดจากการเติมของเหลวเข้าไปในหลอดไม่เต็ม ประโยชน์เพื่อเป็นตัวบอก ความเที่ยงตรงหรือความผิดพลาด โดยเทียบจากสเกลที่ผิวหลอดแก้ว ถ้าฟองอากาศที่อยู่ในหลอดแก้วมีความยาวมากแสดงว่าระดับน้ำตัวนั้นมีความละเอียดมาก เพราะถ้าฟองอากาศยาวแสดงว่าภายในมีช่องว่างมาก ทำให้ของเหลวเคลื่อนตัวได้เร็ว
5. สกรูปรับ (Adjustment Screw) ปกติระดับน้ำทุกตัวจะผ่านการตรวจสอบเช็คประสิทธิภาพด้วยการไขสกรูปรับตั้งความเที่ยงตรงมาเรียบร้อยแล้ว เมื่อใช้งานไปนาน ๆ อาจทำให้ประสิทธิภาพของการใช้งานไม่เที่ยงตรง ก็สามารถปรับระดับน้ำใหม่โดยไขปรับที่สกรู


3. รายละเอียดของระดับน้ำ (Name Plate) จะบอกชื่อของบริษัทผู้ผลิต และบอกค่าความละเอียดของระดับน้ำแต่ละตัว เช่น สามารถวัดความลาดเอียงได้ 0.02 มิลลิเมตรต่อความยาว 1 เมตร หรือขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตเช่นจากttp://www.leveldevelopments.com/engineersblocklevels.htm ดังนี้ 

               
precision square box frame spirit level                  engineers block and machinist precision spirit levels


low cost engineers machine spirit level                 mounted, cylindrical and instrument spirit levels


รูปที่  3 ระดับน้ำเครื่องกลแบบต่าง ๆ
micrometer adjustable precision engineers block levels        adjustable micrometer block spirit levels

รูปที่ 4 ระดับเครื่องกลแบบต่างๆ

Part No.
L (mm)
Weight
114-1-150
1 mm/m
150
0.3 Kg
114-1-200
1 mm/m
200
0.4 Kg
114M-1-200
1 mm/m
200
0.4 Kg
114-1-250
1 mm/m
250
0.5 Kg
114-1-300
1 mm/m
300
0.6 Kg
114-0.4-150
0.4mm/m
150
0.3 Kg
114-0.4-200
0.4mm/m
200
0.4 Kg
114M-0.4-200
0.4mm/m
200
0.4 Kg
114-0.4-250
0.4mm/m
250
0.5 Kg
114-0.4-300
0.4mm/m
300
0.6 Kg
114-0.1-150
0.1mm/m
150
0.3 Kg
114-0.1-200
0.1mm/m
200
0.4 Kg
114M-0.1-200
0.1mm/m
200
0.4 Kg
114-0.1-250
0.1mm/m
250
0.5 Kg
114-0.1-300
0.1mm/m
300
0.6 Kg
114-0.05-150
0.05mm/m
150
0.3 Kg
114-0.05-200
0.05mm/m
200
0.4 Kg




114M-0.05-200
0.05mm/m
200
0.4 Kg
114-0.05-250
0.05mm/m
250
0.5 Kg
114-0.05-300
0.05mm/m
300
0.6 Kg




Part No.
Sensitivity
(mm/m)
Size
(mm)
Weight
(inc box)
132101
0.4
100
0.6Kg
132201
0.1
100
0.6Kg
132205
0.04
100
0.6Kg
67R-0.4-200
0.4
200
3.8Kg
67R-0.1-200
0.1
200
3.8Kg
67R-0.05-200
0.05
200
3.8Kg
67R-0.02-200
0.02
200
3.8Kg
67R-0.01-200
0.01
200
3.8Kg
67R-0.4-300
0.4
300
8.5Kg
67R-0.1-300
0.1
300
8.5Kg
67R-0.05-300
0.05
300
8.5Kg
67R-0.02-300
0.02
300
8.5Kg
67R-0.01-300
0.01
300
8.5Kg

ตารางที่ 1 บอกรายละเอียดชนิดต่างๆ ของระดับเครื่องกล


 3.2   ขนาดของระดับน้ำเครื่องกลและความละเอียด  ขนาดต่าง 

                                3.2.1 ระดับน้ำระบบเมตริก


ขนาดมิลิเมตร
ค่าความละเอียด
ยาว
กว้าง
สูง
มิลลิเมตรต่อเมตร
165
200
200
310

34
44
44
36
46
38.2
200
58
0.3    มม./ม.
0.02  มม./ม.
0.02  มม./ม.
0.3   มม./ม.

ตารางที่ 3.1.1 แสดงขนาดและค่าความละเอียดของระดับน้ำเครื่องกลระบบเมตริก



                          3.2.2 ระดับน้ำเครื่องกลระบบอังกฤษ


ขนาดมิลิเมตร
ค่าความละเอียด
ยาว
กว้าง
สูง
นิ้วต่อฟุต
6.5”
12.0”
1.34”
1.42”
1.81”
2.28”
0.0035”/ฟุต
0.00.5”/ฟุต

ตารางที่ 3.1.2 แสดงขนาดและค่าความละเอียดของระดับน้ำเครื่องกลระบบอังกฤษ





4.  วิธีการใช้งานระดับน้ำเครื่องกล และ  ขั้นตอนการปรับระดับน้ำเครื่องกล

วิธีการใช้งานระดับน้ำเครื่องกล
                                ใช้เพื่อตรวจสอบการตั้งระดับของเครื่องจักรกล  การตั้งแท่นระดับ  การติดตั้งเครื่องจักรกับพื้นจะมีสลักเกลียวเพื่อเอาไว้ปรับหรือยกระดับของเครื่องจักรกลให้ได้ระดับตำแหน่งการสวงระดับน้ำ เช่น   เครื่องกลึงจะวางรางเลื่อน  เครื่องกัดจะวางบนโต๊ะงาน  เครื่องเจียระไนราบจะวางไว้ที่โต๊ะงาน

ขั้นตอนการปรับระดับน้ำเครื่องกล
                                ให้วางระดับน้ำเครื่องกลเพื่อปรับทีละแนว  เช่น ต้องการจะปรับระดับของเครื่องกลึง  จะวางตามแนวยาวเสียก่อน  เมื่อปรับระดับได้แล้วจึงวางแนวขวางอีกครั้ง  เมื่อปรับระดับตามแนวขวางได้แล้ว ให้วางระดับน้ำเครื่องกลตามแนวยาวของเครื่องอีกครั้งหนึ่ง   เพื่อตรวจสอบว่าแนวยาวมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ 
ให้สังเกตว่า  ถ้าตั้งเครื่องได้ระดับแล้วเมื่อเอาระดับน้ำเครื่องกลวางตามแนวไหนก็ตามฟองอากาศจะอยู่ตรงกลางพอดี
1. จัดวางระดับน้ำเครื่องกลตามแนวที่ต้องการตั้งระดับ
2. สังเกตดูฟองอากาศที่เกิดขึ้นบนระดับน้ำว่าอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางหรือไม่ ถ้าอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางแสดงว่าผิวงานได้ระดับพอดี
3. ถ้าฟองอากาศไม่อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลาง ให้ปรับระดับของพื้นที่ต้องการตั้งให้อยู่กึ่งกลางโดยสังเกตทิศทางฟองอากาศ ถ้าฟองอากาศอยู่เอียงไปในทิศทางใดแสดงว่าทิศทางนั้นมีความสูงมากกว่าอีกทิศทางหนึ่ง
4. ทำการปรับระดับแนวระดับ จนกระทั่งให้ฟองอากาศของระดับน้ำเครื่องกลอยู่ตำแหน่ง
กึ่งกลางพอดีทุกตำแหน่งที่ต้องการวัด และควรต้องระวังทิศทางในการมองฟองอากาศ ต้องได้ระดับเป็นมุมฉากพอดีกับ ผิวโลกตำแหน่งขีดใดแล้วเทียบกับค่าความละเอียดที่มีของระดับน้ำ เช่น ถ้าระดับน้ำ 1 ขีด แสดงความเอียง 0.3 มม./. และฟองอากาศเอียงไปทิศทางนั้น 1 ขีด แสดงว่าด้านนั้นมีความลาดเอียงสูงกว่าอีกด้านหนึ่งเท่ากับ 0.3 มม./.  ภาพที่  2   แสดงวิธีการตรวจสอบฟองอากาศของระดับน้ำเครื่องกล






        Level,Flat,Bubble,Yellow,Construction,Wood,Built Structure,Building Activity,Building Exterior,Balance,Work Tool,Equipment,Hand Tool,Moving Activity,Making,Macro,Angle,Degree,Measuring,Instrument of Measurement,Closed,Close To,Close-up,Accuracy,Obsessive,Authority,Home Improvement,Reno,Rudolph The Red-nosed Reindeer,Reindeer

รูปที่    5     การทดสอบล้อหินเจียรให้ได้ระดับ


Poster Print of A Water Level Tool  
 
Level,Flat,Bubble,Yellow,Construction,Wood,Built Structure,Building Activity,Building Exterior,Balance,Work Tool,Equipment,Hand Tool,Moving Activity,Making,Macro,Angle,Degree,Measuring,Instrument of Measurement,Closed,Close To,Close-up,Accuracy,Obsessive,Authority,Evil,Start Button


รูปที่  6    การทดสอบการตั้งผนังกำแพงให้ได้ฉาก



   Poster Print of A Water Level Tool       Level,Flat,Bubble,Yellow,Construction,Wood,Built Structure,Building Activity,Balance,Work Tool,Equipment,Hand Tool,Moving Activity,Macro,Angle,Degree,Measuring,Instrument of Measurement,Closed,Close-up,Accuracy,Obsessive,Authority,Evil,Start Button

รูปที่  7    การวางระดับน้ำเครื่องกลเพื่อทดสอบแนวระดับ
       

                                                                                               ฟองอากาศ
แผนผังลำดับงาน: สิ้นสุด:   ระดับน้ำ                                                                                                                                                                           B
A                                                                                                  
แผนผังลำดับงาน: สิ้นสุด:  ระดับน้ำ
 

              ระดับด้าน B สูงกว่าด้าน A
 


แผนผังลำดับงาน: สิ้นสุด:      ระดับน้ำระดับด้าน A สูงกว่าด้าน B
 



1.             ตั้งตำแหน่งของระดับน้ำเครื่องกลให้วางอยู่บนแนวยาวของแท่นให้ฟองอากาศของระดับน้ำอยู่นิ่งดังรูป ก
2.             ตำแหน่งของระดับน้ำเครื่องกลจะอยู่อีกปลายด้านหนึ่งของผิวหน้า และให้ฟองอากาศหยุดนิ่งอีกครั้ง  เพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาด  ดังรูป 
3.             ทำซ้ำ    ตามข้อ 1 และข้อ 2   ที่ปลายทั้งคู่ของชิ้นงาน


4.             ปรับสกรูที่ฐานกระทั้งฟองอากาศอยู่ตรงกลางของระดับน้ำเครื่องกลที่ตำแหน่งต่าง ๆ ของผิวหน้าชิ้นงาน  ดังรูป ค
5.             วางระดับน้ำในตำแหน่งที่ 1, 2, 3 และ 4  หาระดับให้ฟองอากาศอยู่ตรงกลางทุกจุดแสดงว่า  เครื่องจักถูกวางได้ระดับกับพื้นผิวของโลก  ดังรูป  



ข้อควรระวังในการใช้ระดับน้ำเครื่องกล
                               
1.             ทำความสะอาด  บริเวณที่ต้องการวางระดับน้ำเครื่องกลเพื่อตรวจสอบ
2.             เช็ดคาบน้ำมันที่ติดอยู่ และดูแลความเรียบร้อยก่อนใช้งาน
3.             ค่อย ๆ วางระดับน้ำเครื่องกล  บริเวณที่ต้องการหาระดับ
4.             การมองฟองอากาศที่เลื่อนไปมา  ตามองตั้งฉากกับตำแหน่งที่อ่าน
5.             ไม่ควรลากระดับน้ำเครื่องกลไปมาควรใช้ยกเปลี่ยนตำแหน่ง
6.             ขณะปรับสกรูยึดฐานของเครื่องจักรให้ค่อย ๆ  ปรับ และสังเกตการณ์เครื่องที่ของฟองอากาศ
7.             ควรมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงระดับน้ำเครื่องกล   เพื่อป้องกันความผิดพลาด


 


                                                                                                                                                                            
ฟองอากาศอยู่ตรงกลางพอดีแสดงว่าผิวงานอยู่ในแนวระดับพอดี


 


                                                                                                                                                            
ฟองอากาศอยู่เยื้องไปทางจุด ข.1  ช่องสเกล  แสดงว่าพื้นที่ทางจุด ข. สูงกว่าทางจุด ก.
อยู่  0.3  มม.ต่อระยะทาง 1 ม.  หรือผิวงานมีอัตราลาด  0.3 มม./ม.




 

                                                                                                      
                                                                                               
ฟองอากาศอยู่เยื้องไปทางจุด ก.1  ช่องสเกล  แสดงว่าพื้นที่ทางจุด ก. สูงกว่าทางจุด ข.
อยู่  0.3  มม.ต่อระยะทาง 1 ม.  หรือผิวงานมีอัตราลาด  0.3 มม./ม.
                                                                                         
 

                                                                                                                                                      

ฟองอากาศอยู่เยื้องไปทางจุด ข.2  ช่องสเกล  แสดงว่าพื้นที่ทางจุด ข. สูงกว่าทางจุด ก.
อยู่  0.6  มม.  ต่อระยะทาง 1 ม.  หรือผิวงานมีอัตราลาด  0.6 มม./ม.


 

                                                                                                                                                            
ฟองอากาศอยู่เยื้องไปทางจุด ก.  = 2   ช่องสเกล  แสดงว่าพื้นที่ทางจุด ก. สูงกว่าทางจุด ข.
อยู่  0.6  มม.ต่อระยะทาง 1 ม.  หรือผิวงานมีอัตราลาด  0.6 มม./ม.


 

                                                                                                                                                                                                                                                       ไม่เห็นฟองอากาศ  แสดงว่าผิวงานนี้ทำมุมกับพื้นระดับมากเกินไป
                                                       จนไม่สามารถคำนวณได้ด้วนระดับน้ำเครื่องกล

2 . แสดงวิธีการตรวจสอบฟองอากาศของระดับน้ำเครื่องกล
                                การคำนวณมุมที่ผิวงานกระทำกับพื้นระนาบ   จะใช้ค่าอัตราลาดที่ทราบมาคำนวณ  ผิวงานมีค่าอัตราลาดเท่ากับ  0.6 มม.  ต่อระยะทาง  1  ม.


ตัวอย่าง


จากภาพ ระยะ 0.3 มม. เกิดจากสเกลบนระดับน้ำมีความละเอียด 0.3 มม./. เลื่อนไป 1 ขีด แสดงว่า มีความสูงด้าน AC เท่ากับ 0.3 มม. ต่อด้าน BC 1 . ดังนั้น ถ้าต้องการทราบค่ามุม ก็สามารถหาได้จาก

tan α = AC / BC
= 0.3 มม. / 1,000 มม.
tan α = 0.0003
α = tan-1 0.0003
α = 0.0171 X 60
α = 1.031

                                เราสามารถหามุมหรืออัตราลาดที่ผิวงานกระทำกับพื้นระดับด้วยวิธีการเทียบกับตารางสำเร็จ   ถ้าเราทราบรัศมีความโค้งหรือค่าความละเอียดของระดับน้ำเครื่องกล  ก็สามารถจะทราบมุมหรืออัตราลาดที่ผิวงานกระทำกับพื้นระดับได้  โดยนับจำนวนช่องสเกลที่ฟองอากาศเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งตรงกลางแล้วนำไปเทียบกับตาราง




แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
คำชี้แจง  จงเลือกข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
รายละเอียดระดับน้ำ1.                                                                                                          รูปนี้คืออะไร
ก. เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์
ข. เกจเพลาเรียว
ค.ระดับน้ำเครื่องกล
ง. บรรทัดฉาก

2.  PRECISION  LEVEL  คืออะไร
                ก.ฉากเครื่องกล                  ข.ฟุตเหล็ก            ค.ระดับน้ำเครื่องกล           ง. เกจวัดความโตรูคว้าน

3. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของระดับน้ำเครื่องกล
                ก. หลอดแก้ว                       ข. สกรูล๊อค                           ค. ขีดสเกล                            ง. สกูลปรับ

4. ส่วนประกอบของระดับน้ำเครื่องกลมีอะไรบ้าง
                ก.  หลอดแก้ว  ขีดสเกล   ฟองอากาศ    สกรูปรับ
                ข.  ฐาน   ขีดสเกล   ฟองอากาศ    สกรูล๊อค   หลอดแก้ว
                ค.  ฐาน   หลอดแก้ว  ขีดสเกล   ฟองอากาศ    สกรูปรับ
ง.  ฐาน   หลอดแก้ว  ขีดสเกล   ฟองอากาศ    สกรูล๊อค

5. ฟองอากาศ  คือข้อใด
                ก. Bubble                             ข. Scale                                 ค. Vial                                   ง. Base

6. เพื่อแสดงให้ทราบการเคลื่อนของฟองอากาศที่เคลื่อนที่  แสดงถึงพื้นที่ที่มีความเอียง
     กี่มิลลิเมตรต่อความยาว 1  เมตรหรือกี่นิ้วต่อความยาว 1 ฟุต  คือคุณสมบัติของอะไร
ก.    หลอดแก้ว                     ข.ฟองอากาศ                        ค.ขีดสเกล                             ง.สกรูปรับ






7. สามารถจัดความลาดเอียงได้  0.02  มิลลิเมตรต่อความยาว  1 เมตร
                ก.ขีดสเกล                             ข.ฟองอากาศ                        ค. หลอดแก้ว                        ง. รายละเอียดของระดับน้ำ

8.  Adjustment  Screw คือข้อใด
                ก. สกรูปรับ                  ข.รายละเอียดของระดับน้ำ                     ค. ฟองอากาศ                      ง. ขีดสเกล



 

แผนผังลำดับงาน: สิ้นสุด:      ระดับน้ำ9.                                                                                            ระดับน้ำในรูปคือข้อใด
A                                                                                                                                             B
                ก.  ระดับด้าน B สูงกว่าด้าน A
                ข. ระดับด้าน  A  สูงกว่าด้านB
                ค.  ระดับด้าน A   เท่ากับด้านB
                ง.   ถูกทุกข้อ



10. ข้อใดไม่ใช่ข้อควรระวังในการใช้ระดับน้ำเครื่องกล
                ก. เช็คคาบน้ำมันที่ติดอยู่และดูแลความเรียบร้อยก่อนใช้งาน
                ข. ค่อย ๆ วางระดับน้ำเครื่องกลบริเวณที่ต้องการหาระดับ
                ค. ไม่ควรลากระดับน้ำเครื่องกลไปมา ควรใช้ยกเปลี่ยนตำแหน่ง
                ง. อย่าวัดชิ้นงานขณะที่ชิ้นงานยังร้อยอยู่









เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน

1.            ค.ระดับน้ำเครื่องกล
2.            ค.ระดับน้ำเครื่องกล
3.            ข.สกรูล๊อค
4.            ค. ฐาน   หลอดแก้ว  ขีดสเกล   ฟองอากาศ    สกรูปรับ
5.            ก. Bubble
6.            ค.ขีดสเกล
7.            ง. รายละเอียดของระดับน้ำ
8.            ก.สกรูปรับ
9.            ข. ระดับด้าน  A  สูงกว่าด้านB
10.          ง. อย่าวัดชิ้นงานขณะที่ชิ้นงานยังร้อยอยู่