วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 3 การใช้งานเกจทรงกระบอก

หน่วยที่  การใช้งานเกจทรงกระบอก
1. เกจทรงกระบอก  (Limit plug gauge)
                 เป็นเกจที่ใช้สำหรับตรวจสอบขนาดภายในของงาน เช่น รูคว้าน การเจาะ การเจียระไน และอื่นๆ ขนาดของงานจำเป็นต้องมีค่าพิกัดความเผื่อ คือขนาดโตสุด และเล็กสุด ที่ยอมให้งานผิดพลาดได้ โดยที่งานนั้นไม่เสียหาย ขนาดของเกจชนิดนี้ที่กำหนดขึ้นมาจากค่าพิกัดทั้งสองนี้เอง
 
                 ลักษณะของเกจนี้ ปกติจะมีอยู่ 3 ส่วน คือ

            -    ส่วนด้าม ทำจากเหล็กอ่อนพิมพ์ลายไว้ ตรงกลางมีเลขบอกขนาดของเกจ      ด้านซ้าย และขวาของด้านจะมีตัวเลขบอกค่าพิกัด และเครื่องหมายบอก , ลบไว้ มีค่าเป็นไมโครเมตร
            -    ส่วนขวามือ  เรียกว่า ด้านเสีย” (NOT GO) จะทาสีแดงไว้ มีขนาดโตเท่ากับความโตสูงสุดที่ยอมได้
            -    ส่วนซ้ายมือ เรียกว่า ด้านดี  (GO)  มีขนาดยาวกว่าด้านเสีย มีขนาดเท่ากับขนาดโตในเล็กสุดของรู

การใช้งานของเกจทรงกระบอก
            เกจทรงกระบอกเป็นเครื่องมือ ที่ใช้ตรวจสอบว่าใช้ได้หรือไม่ได้เท่านั้น ไม่สามารถจะบอกขนาดของงานว่ามีขนาดเท่าใด การวัดต้องอาศัยความรู้สึกสัมผัส และวิธีการใช้ที่ถูกต้องให้ใช้ด้านที่เสียทดลองสวมดูก่อน แล้วจึงใช้ด้านดีทดลอง โดยมีหลัก  ดังนี้
            1.  ถ้าด้านดีสวมผ่านได้ แต่ด้านเสียไม่สามารถที่จะสวมผ่าน แสดงว่า ความโตของรูอยู่ในพิกัดความเผื่อ ใช้ได้
            2.  ถ้าด้านดีและด้านเสียไม่สามารถสวมผ่านแสดงว่าความโตของรูเล็กกว่าพิกัดความเผื่อใช้ไม่ได้
            3.  ถ้าทั้งด้านดีและด้านเสีย ไม่สามารถสวมผ่านได้หมด แสดงว่า ความโตของรูโตกว่าค่าพิกัดความเผื่อ ใช้ไม่ได้

            ขณะวัดงาน ควรให้เกจอยู่ด้านบนแนวตั้งฉากกับรูที่จะวัด และให้น้ำหนักเกจไหลเลื่อนลงมาด้วยน้ำหนักของตัวเกจเอง แต่ถ้างานอยู่ในแนวนอน ต้องใช้แรงดันลงเล็กน้อย

            ข้อควรระวังในการใช้เกจทรงกระบอก
            เนื่องจากมีราคาแพงและสร้างยาก เสียหายแล้วไม่สามารถที่จะปรับให้มีขนาดเท่าเดิมได้ ควรใช้อย่างระมัดระวัง มีข้อแนะนำดังนี้
            1.1  ทำสะอาดชิ้นงานและเกจก่อนการใช้ทุกครั้ง
            1.2  ผิวงานที่จะวัดอย่างน้อยต้องละเอียดเท่ากับ
            1.3  รูที่วัดควรทะลุตลิด หรือระบายอากาศได้
            1.4  ลบคมชิ้นงานก่อน
1.5  วางเกจให้อยู่ร่วมศูนย์กับงาน
1.6  เมื่อสวมลงไปแล้วอย่าหมุนเกจ
1.7  อย่าวัดงานที่กำลังหมุนหรืองานที่ร้อน
1.8  ขณะที่วัดให้จับที่ด้ามเท่านั้น
1.9  ควรวางในกล่องไม้
1.10  หลังใช้งานให้ทาด้วยน้ำมันแล้วเช็ดด้ายผ้าสะอาด
1.11  แยกเก็บอย่าให้ปนกับเครื่องมืออื่น

 แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน

เรื่อง เกจทรงกระบอก

 

วัตถุประสงค์   เพื่อให้สามารถใช้เกจทรงกระบอกตรวจสอบขนาดความโตในของรูงานได้อย่างถูกต้อง

 

เครื่องมือ            1.  เกจทรงกระบอก
2. ชิ้นงานประลอง  10 ชิ้น

วิธีการปฏิบัติงาน                1.     ทำความสะอาดชิ้นงานและตรวจสอบความเรียบร้อยของผิวงาน
                2.       ทำความสะอาดเครื่องมือวัดและตรวจสอบความสมบูรณ์
                3.       ใช้เกจทรงกระบอกตรวจสอบความโตในของรูตามแบบ
                4.       จดบันทึกลงในตารางโดยใส่เครื่องหมายถูกในช่องที่ตรวจสอบรูได้

ขนาดเกจทรงกระบอก
หมายเลขงาน
ขนาดพอดี
โตเกินไป
เล็กเกินไป

PG – 01




PG – 02




PG – 03




PG – 04




PG – 05




PG – 06




PG – 07




PG – 08




PG – 09




PG –10




วิเคราะห์ผลการประลอง
                       1.       ให้นักเรียนสลับกลุ่มตรวจผลการประลอง  แล้วเปรียบเทียบกับใบเฉลย
                       2.       นักเรียนวิเคราะห์ค่าผิดพลาดจากการวัด
                       3.       ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการประลอง

บันทึกข้อผิดพลาดและการแก้ไขจากการประลอง

สาเหตุของการผิดพลาดจากการวัด
วิธีการแก้ไขข้อผิดพลาดจากการวัด
………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………………..…………………………………………………………………..
………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………..…………………………………………………………………………


          ชื่อ  ………….............. นามสกุล  ………………………. รหัส………………………


บทที่ ๑ เครื่องมือวัดและปัจจัยการวัด

หน่วยที่ 1  เครื่องมือวัดและปัจจัยการวัด

 วัตถุประสงค์ทั่วไป

            -    เข้าใจเกี่ยวกับความหมายของเครื่องมือวัดและปัจจัยการวัด

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

            -    หลังจากศึกษาของหัวข้อนี้แล้วผู้ศึกษาจะแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้
                     1. บอกความหมายของการวัดได้
                     2.  บอกปัจจัยของการวัดได้
                     3.  จำหลักการวัดได้
                     4.  บอกระดับของการวัดได้
                     5.  บอกชนิดของการวัดได้

เครื่องมือวัดและปัจจัยการวัด

1.  ความหมายของเครื่องมือวัด
            เครื่องมือวัดหมายถึง  การวัดขนาดที่ได้จากการใช้งานด้านโลหะซึ่งมีมาตรฐานและวิธีการวัดที่มาตรฐาน หน่วยวัดหรือหน่วยมาตรฐานจะใช้เป็นตัวเปรียบเทียบงานที่ได้จากงานวัดและการเปรียบเทียบเรียกว่า ค่าวัด โดยวัดอ่านได้โดยตรงจากเครื่องมือวัดหรือจากเข็มชี้มาตรา ฉะนั้นเครื่องวัดจึงเป็นเครื่องมือที่ใช้หาค่าวัด ซึ่งค่าวัดนั้นมีมากมายหลายอย่างเช่น วัดความยาว วัดน้ำหนัก วัดมุม เวลา อุณหภูมิ ความเข้มของแสง เป็นต้น

2. ปัจจัยการวัด
            ความละเอียดแน่นของการวัดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ของการวัด ซึ่งมีดังต่อไปนี้
            2.1 จากมาตรฐาน ซึ่งคุณสมบัติมีดังนี้
                           - สามารถลอกแบบได้
                           - เปรียบเทียบทางเรขาคณิตได้
                           - สัมประสิทธิขยายตัวคงที่เมื่อมีอุณหภูมิเข้า
                           - สามารถเปรียบเทียบมาตรฐานได้
                           - มาตรฐานไม่เปลี่ยนแปลง
                           - มีความยืดตัวใช้งานได้คล่องแคล่วว่องไว
            2.2 ชิ้นงาน ต้องมีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิตและความหยาบละเอียดของผิววัดออกมาเป็นค่าและผิวของงานต้องสะอาดและต้องเข้าใจลักษณะของการวัดที่เราจะวัด
            2.3 เครื่องมือวัด ต้องมีลักษณะละเอียดไม่ชำรุดและเวลาวัดเครื่องมือวัดต้องตั้งฉากกับงานเสมอ เครื่องมือวัดต้องสะอาด แรงที่กดวัดต้องเท่ากันเสมอ
            2.4 บุคคลที่มีคุณสมบัติในการวัด ต้องได้รับการฝึกอบรมและปฏิบัติงานอย่างชำนาญมีทักษะของการวัดมีความละเอียดรอบคอบและเข้าใจงานวัดเป็นอย่างดี รู้จักเลือกเครื่องมือที่มีคุณภาพและรู้จักวางแผนในการวัด
            2.5 สิ่งแวดล้อม  ควรมีอุณหภูมิเหมาะสมกับเครื่องมือวัดและความสว่างของแสงต้องมีความเข้มเพียงพอ

3. วิธีการจำหลักการวัด

             เพื่อสะดวกในการจำหลักการวัด จึงสร้างโค้ดขึ้นว่า “SWIPE” ซึ่งมาจากคำดังต่อไปนี้
            S       มาจาก    Standard             แปลว่า    มาตรฐาน
            W     มาจาก    Workpice            แปลว่า    ชิ้นงาน
            I        มาจาก    Instrument          แปลว่า    เครื่องมือ
            P       มาจาก    Person                แปลว่า    ตัวบุคคล
            E      มาจาก    Environment       แปลว่า    สิ่งแวดล้อม

4. ระดับการวัดงานในอุตสาหกรรม
            การผลิต   ต้องการความละเอียด  0.0254 มม.
            การตรวจสอบต้องการความละเอียด  0.00254 มม.
            การใช้เกจในห้องทดลองต้องการความละเอียด 0.000254 มม.
            การทำเกจมาตรฐานใช้ในห้องทดลองต้องการความละเอียด 0.0001016 มม.
            การวัดละเอียดในห้องทดลองต้องการความละเอียด 0.0000256 มม.
5. ชนิดของการวัด
            การวัดแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ การวัดโดยตรงและการวัดเปรียบเทียบ
            5.1 การวัดโดยตรง มักใช้กับเครื่องมือที่มีขีดมาตรฐานหรือสเกล
            เช่น      - เวอร์เนียคาลิปเปอร์
                        - ไมโครมิเตอร์
                        - บรรทัดเหล็ก
                        - ฉากเลื่อน
- ฉากผสม
             5.2 การวัดเปรียบเทียบ ต้องนำไปวัดกับเครื่องมือวัดอีกทีหนึ่ง
            เช่น      - เกจวัดลวด                - เกจวัดความหนา
                        - เกจวัดเกลียว             - เกจวัดรูปทรงกระบอก
                        - ฟิลเลอร์เกจ               - เกจรัศมี
- ปากวัดตายตัว          - เกจวัดเพลาเรียว

                 แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน

คำชี้แจง   ให้นักเรียนเลือกข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

1. ผลที่ได้จากการเปรียบเทียบกับมาตรฐานเรียกว่าอะไร
            ค่าเปรียบเทียบ
            . ผลลัพธ์
            . คำตอบ
            .  ค่าวัด
2. อะไรเป็นสิ่งที่ใช้หาค่าวัด
            . เครื่องมือวัด
            . เกจ
            . คาร์ลิปเปอร์
            .  ถูกทุกข้อ
3. ต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
            . มาตรฐานสามารถเปรียบเทียบได้
            . มาตรฐานลอกได้
            . ความหยาบละเอียดวัดออกมาเป็นค่าได้
            .  ถูกทุกข้อ
4. ต่อไปนี้ข้อใดผิด
            . ชิ้นงานที่วัดเป็นทรงเลขาคณิต
            . เครื่องมือวัดต้องไม่ชำรุด
            . แรงวัดที่กดไม่จำเป็นต้องเท่ากัน
            .  บุคคลต้องมีทักษะในการวัด
จากคำว่า “SWIPE” ใช้ตอบคำถามข้อ 5 ถึง 9
5. “S” หมายความว่าอย่างไร
            . Environment
            . Instrument
            . Standard
            .  Person
6. “W” หมายความว่าอย่างไร
            . Instrument
            . Person
            . Environment
            .  Workpice
7. “I” หมายความว่าอย่างไร
            . Workpice
            . Instrument
            . Person
            .  Environment
8. “P” หมายความว่าอย่างไร
            . Person
            . Instrument
            . Workpice
            .  Standard
9. “E” หมายความว่าอย่างไร
            . Instrument
            . Environment
            . Standard
            .  Workpice
10. การผลิตมีค่าความละเอียดเท่าใด
            . 0.0254 มม.
            . 0.00254 มม.
            . 0.000254 มม.
            . 0.0000256 มม.
11. การตรวจสอบมีค่าความละเอียดเท่าใด
            . 0.0001016 มม.
            . 0.0000256 มม.
            . 0.00254 มม.
            . 0.0254 มม.
12. การใช้เกจวัดในห้องทดลองมีค่ารวม
            . 0.000254 มม.
            . 0.0254 มม.     
            . 0.0000256 มม.
            .  0.00254 มม.
13. การทำเกจมาตรฐานในห้องทดลองมีค่าความละเอียดเท่าใด
            . 0.0000256 มม.
            . 0.0001016 มม.
            . 0.0254 มม.
            .  0.00254 มม.
14. การวัดละเอียดในห้องทดลองมีค่าความละเอียดเท่าใด
            . 0.0254 มม.
            . 0.00254 มม.
            . 0.000254 มม.
            .  0.0000256 มม.
15. การวัดแบ่งออกเป็นกี่อย่าง อะไรบ้าง
            . 2 อย่างคือ การวัดโดยตรง การวัดเปรียบเทียบ
            . 3 อย่าง คือ การวัดโดยตรง การวัดทางอ้อม วัดเปรียบเทียบ
            . 4 อย่าง คือ การวัดโดยตรง การวัดทางอ้อม วัดเปรียบเทียบ การวัดแบบประเมินค่า
            .  ถูกทุกข้อ

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน

1.     
2.     
3.     
4.     
5.     
6.     
7.     
8.     
9.     
10. 
11. 
12. 
13. 
14. 
15.