วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทที่ ๕ บรรทัดเหล็ก

 บรรทัดเหล็ก
วัตถุประสงค์ทั่วไป                    เข้าใจเกี่ยวกับการวัดบรรทัดเหล็ก

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

               หลังจากการศึกษาหัวข้อนี้แล้วผู้ศึกษาจะแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้
                            1. บอกลักษณะของบรรทัดเหล็กได้
                            2. บอกขีดมาตราบรรทัดเหล็กได้
                            3.  บอกขนาดของบรรทัดเหล็กได้
                            4.  วัดงานด้วยเครื่องมือแบบตายตัวได้
                            5.  วัดงานโดยการใช้ฉากทาบได้อย่างถูกวิธี
                            6.  บอกข้อระวังในการใช้บรรทัดเหล็กได้
                            7.  บอกประโยชน์ของบรรทัดเหล็กได้

                                             


                                              
บรรทัดเหล็ก

                1.   ลักษณะของบรรทัดเหล็ก  (Stleel rule)
                บรรทัดเหล็กเป็นเครื่องมือวัดที่ใช้กันมากในช่างกลโรงงานเป็นเครื่องมือวัดที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนักเพียงแต่ทาบกับงานก็อ่านค่าได้
                บรรทัดเหล็กล้วนออกแบบขึ้นมาให้เหมาะสมกับการใช้งานในลักษณะต่าง ๆ ส่วนมากทำมาจากสเตนเลสเหนียว  เป็นมันวาว  ฉาบด้วยโครเมียมบรรทัดเหล็กนี้จะทำขึ้นพิเศษ  สามารถใช้งานได้นาน  คงทน  บางไม่เกิน  0.3   มิลลิเมตรไม่บิดงอง่าย  มีหลายแบบดังนี้
                                                                     

                                                      รูปที่  1  ลักษณะของบรรทัดเหล็ก
                       

                                                        รูปที่  2  ลักษณะของบรรทัดเหล็ก

                                                                         

                                                       รูปที่  3   ขีดมาตราบนบรรทัดเหล็ก

                        

                                                      รูปที่  4  ขีดมาตราบนบรรทัดเหล็ก



                                                              รูปที่  5  ขีดมาตราแบบนิ้ว           
                         
                                                         รูปที่  6  ขีดมาตราแบบเซนติเมตร
         2.    ขีดมาตราบรรทัดเหล็ก
                ขีดมาตราบนขอบของบรรทัดเหล็ก  อาจขีดแสดงความยาวทั้งสองระบบ คือ  ระบบอังกฤษ และระบบเมตริก  โดยอยู่คนละด้านกัน  ขีดมาตราจะเริ่มจากทางซ้ายมือ  ให้อ่านไปทางขวาโดยแบ่งออกเป็นช่องเล็ก ๆ  ช่องหนึ่ง ๆ  มีขนาด  1  มิลลิเมตร  เมื่อครบ  10  ช่องจะมีเลข  1  กำกับเพื่อแสดงความยาว  1  เซนติเมตร  เป็นอย่างนี้ทุก ๆ  10  ช่อง  จนถึงเลข  100  เซนติเมตร  จะมีตัวเลข  1 .  กำกับไว้เพื่อแสดงระยะ  1   เมตร  และเมื่อถึง  200 เซนติเมตร  จะมีตัวเลข  2  เมตร  กำกับเช่นเดียวกัน                                                                          
                ขีดมาตราบนบรรทัดเหล็กเกิดจากการอัดตัวกกดขึ้นรูปของลูกกลิ้งความยาวของเส้นมาตราต่าง ๆ  จะยาวไม่เท่ากัน  ทั้งนี้เพื่อให้เป็นข้อสังเกตในขณะวัด  กล่าวคือ
                -     เส้นที่แสดงระยะ  1  เซนติเมตร  ,  2  เซนติเมตร  จะยาวประมาณ  0.4  เท่าของความกว้างบรรทัดเหล็ก
                -     เส้นแสดงระยะ  5  มิลลิเมตร  จะยาวประมาณ  0.63 –0.75  เท่าของเส้นที่แสดงระยะ  1  เซนติเมตร
                -     เส้นแสดงระยะ  1  มิลลิเมตร  จะยาวประมาณ  0.75  เท่าของเส้น ที่แสดงระยะ  5  มิลลิเมตร
                -     เส้นแสดงระยะ  0.5  มิลลิเมตร  จะยาวประมาณ  0.7  เท่าของเส้นที่แสดงระยะ  1  มิลลิเมตร 
                -     ขีดมาตราใน  50  ช่องแรก  หรือในระยะ  0-50  เซนติเมตร  จะแบ่งขีดมาตราละเอียดถึง  0.5  มิลลิเมตร
                                                               รูปที่  7  บรรทัดเหล็กแบบสามเหลี่ยม
                                                         
                                                          
                                                                 รูปที่  8  บรรทัดเหล็กแบบระดับน้ำ
                                                         รูปที่  9  ขนาดของบรรทัดเหล็ก

                                                    
รูปที่  10  บรรทัดเหล็กแบบครึ่งวงกลม
3.             ขนาดของบรรทัดเหล็ก
                บรรทัดเหล็กมีอยู่  3  ขนาด  คือ  ขนาด  30 เซนติเมตร  100  เซนติเมตร และขนาด  200  เซนติเมตร  ซึ่งเป็นบรรทัดเหล็กที่สามารถพับเก็บได้


รูปที่  11  เครื่องมือวัดแบบตายตัว
               
                      

รูปที่  12  วิธีด้วยเครื่องมือแบบตายตัว
4.             วิธีวัดด้วยเครื่องมือแบบตายตัว
                       1. วางบรรทัดทาบกับหน้าชิ้นงานที่ต้องการวัด
                       2. ยันปลายบรรทัดให้ตั้งฉากกับหน้าเทียบ
                       3. พยายามวัดด้วยวิธียันถ้าเป็นไปได้
                       4. วิธีอ่าน  ตาจะต้องเล็งให้ตั้งฉากกับตำแหน่งที่อ่าน

          
                   รูปที่  13  การวัดที่ถูกต้อง 
   

      รูปที่  14  เกิดจากการแบ่งส่วนของบรรทัดเหล็ก                                    



                                                รูปที่  15  วิธีที่วัดโดยการใช้ฉากทาบ
                                           
                                                รูปที่  16   บรรทัดเหล็กที่มีฉากทาบ
            5. วิธีวัดโดยการใช้ฉากทาบ
                จะช่วยให้บังคับบรรทัดให้อยู่ในสภาพตั้งฉากกับหน้าเทียบ  และในขณะเดียวกันขีดศูนย์ของบรรทัดเหล็กที่ยันกับหน้าเทียบจะต้องตรงกับขอบของชิ้นงานพอดี
            ถ้าไม่มีบ่าสำหรับยันหรหือไมสามารถจะทาบฉากได้ก็ใช้นิ้วหัวแม่มือกดกับบรรทัดไปยันกับชิ้นงานแทน  โดยที่ขีดศูนย์ของบรรทัดต้องตรงกับขอบของชิ้นงานพอดี


                                            รูปที่  17  ควรใช้มือจับที่บรรทัดเหล็กเพื่อกันเลือนตอนขีด

                                                 
รูปที่  18  ไม่ควรมักในการวัดแต่ละครั้ง
6.             ข้อระวังในการใช้บรรทัดเหล็ก
                 1. แนวของงานกับบรรทัดเหล็กต้องตรงกันในเวลาที่วัดเสมอ
                 2. วางบรรทัดเหล็กให้ขีดมาตราตรงกับขีดเริ่มต้นเสมอ
                 3. ถ้าบรรทัดเหล็กมีความหนามาก  ต้องระวังแนวเล็งของสายตาให้ดี
                 4. ตั้งใจวัดไม่ให้เข้าข้างตัวเองหรือมักง่าย

                                               รูปที่  19  ประโยชน์ของบรรทัดเหล็ก

             7.      ประโยชน์ของบรรทัดเหล็ก
                     1. ใช้วัดขนาด  ความยาว  ความกว้าง  หรือส่วนต่าง ๆ  ที่ไม่ต้องการความ                 ละเอียดมากนักได้อย่างรวดเร็ว
                     2. ใช้วัดขนาดเพื่อนำไปถ่ายทอดไปวัดกับเครื่องมืออื่นบางชนิด  เช่น  วง    เวียน  วัดนอก  วัดใน  เป็นต้น
                     3. ใช้วัดงานในแนวระดับ  เพื่อดูความเรียบของผิวงาน













แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน

                คำชี้แจง  จงเลือกข้อที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว

1. บรรทัดเหล็ก  (Steel rule)  ทำมาจากอะไร
                . เหล็กเหนียว                                       . อะลูมิเนียม
            . เหล็กกล้า                                                 . สแตนเลสเหนียว
2. ข้อใดสำคัญที่สุดในการวัด
            . เครื่องมือวัด                                              . ชิ้นงานที่ต้องการวัด
            . ความเข้าใจและการใช้เครื่องมือวัด         . ถูกทั้งข้อ ก และข้อ 
3. ข้อใดบอกลักษณะของบรรทัดเหล็กได้ถูกต้อง
           . หนาไม่เกิน  2  มิลลิเมตร  บางไม่เกิน  1  มิลลิเมตร
           . หนาไม่เกิน 1  มิลลิเมตร  บางไม่เกิน  0.5 มิลลิเมตร
           . หนาไม่เกิน  1  มิลลิเมตร  บางไม่เกิน  0.3  มิลลิเมตร
           . หนาไม่เกิน  0.5  มิลลิเมตร  บางไม่เกิน  0.3  มิลลิเมตร
4. ขีดมาตราจะเริ่มจากทางใดของผู้อ่าน
           . เริ่มจากด้านขวามือ                         . เริ่มจากด้านซ้ายมือ
           . แล้วแต่บริษัทที่ผลิต                       . ตามมาตราของประเทศนั้น ๆ
5. ความยาวของบรรทัดเหล็กมีกี่ขนาด
          . มี  2  ขนาด                                          . มี  3  ขนาด
          . มี  4  ขนาด                                           .  ไม่สามารถกำหนดได้
6. ข้อใดกล่าวถึงความยาวของบรรทัดเหล็กอย่างถูกต้อง
          .  15, 30,50,100  เซนติเมตร            .  30, 50,50,100  เซนติเมตร
          .  30, 100,200 เซนติเมตร             .  30, 100,1150  เซนติเมตร
7. บรรทัดเหล็กในระบบเมตริก  มีค่าความละเอียดเท่าใด
          .  0.1  มิลลิเมตร                                                          .  0.5  มิลลิเมตร
          .  0.05  มิลลิเมตร                                                        .  1  มิลลิเมตร
8. ต่อไปนี้ข้อใดผิด 
          . บรรทัดเหล็กมีใช้อยู่  3  ชนิด
          . ความหนาของบรรทัดเหล็กเท่ากับ  1  มิลลิเมตร
          . บรรทัดเหล็กไม่ต้องระวังความหนา
          . แนวของงานกับแนวของบรรทัดเหล็ก  ต้องตรงกันเสมอ
9. ขีดมาตราที่ใช้ความละเอียด  0.5  มิลลิเมตร  อยู่ในช่วงความยาวเท่าใดของบรรทัดเหล็ก 
           . ยาว  15  เซนติเมตร                       . ยาว  30  เซนติเมตร
           . ยาว  50  เซนติเมตร                       . ยาว  75  เซนติเมตร
10. เส้นแสดงระยะ  1   เซนติเมตร  , 2  เซนติเมตร  มีความยาวประมาณเท่าใด
            . 0.2  เท่าของความกว้างบรรทัดเหล็ก
            . 0.3  เท่าของความกว้างบรรทัดเหล็ก
            . 0.4  เท่าของความกว้างบรรทัดเหล็ก
            . 0.5   เท่าของความกว้างบรรทัดเหล็ก
11  เส้นแสดงระยะ  5  มิลลิเมตร  มีความยาวประมาณเท่าใด
             . ประมาณ  0.63-0.75  เท่าของเส้นแสดงระยะ  1  เซนติเมตร
             . ประมาณ  0.55-0.73  เท่าของเส้นแสดงระยะ  1  เซนติเมตร
             . ประมาณ  0.76  เท่าของเส้นแสดงระยะ  0.5  เซนติเมตร
             . ประมาณ  0.80-0.90  เท่าของเส้นแสดงระยะ  1  เซนติเมตร
12. ในวิธีวัดด้วยเครื่องวัดแบบตายตัวข้อใดกล่าวถูกต้อง    
              . วางบรรทัดทาบกับหน้าของชิ้นงานที่ต้องการวัดความยาว
              . ยันปลายตั้งฉากกับหน้าเทียบ
              . ตาต้องเล็งให้ตั้งฉากกับตำแหน่งอ่านเสมอ
              . ถูกทุกข้อ
13. จากรูปเป็นการวัดแบบใด
                                                                             
                                                     
             ก.  แบบเส้นแสง                       .  แบบฉากทาบ
             ค.  แบบตายตัว                          ง.  แบบขนาน
14. ตัวบรรทัดเหล็กทำมาจากโลหะชนิดใด 
             ก.  เหล็กกล้า                                        ข.  เหล็กหล่อ
             ค.  เหล็กไร้สนิม                                  ง.  เหล็กหล่อผสม
15. จากรูปเป็นการวัดแบบใด
                                                                   
             ก.  แบบฉากทาบ          ข.  แบบเส้นเล็ง
       ค.  แบบตั้งฉาก               ง.   ถูกทุกข้อ                                               
           
16.  ข้อควรระวังในการใช้บรรทัดเหล็กข้อใดกล่าวถูกต้อง
              ก. วางบรรทัดเหล็กให้ยึดสเกลตรงกับขีดสองเสมอ
       ข.  ตั้งใจวัดและไม่เข้าข้างตัวเองหรือมักง่าย
       ค.  แนวรองงานกับแนวของบรรทัดเหล็กขณะวัดต้องตรงกัน
       ง. ถูกทั้งข้อ  ข.  ,  ค.
 17.  ถ้าบรรทัดเหล็กมีความหนามากต้องระวังในข้อใด
       ก.  ระวังแนวเล็งของสายตา                 ข.  ระวังชิ้นงานจะเป็นรอย
       ค.  ระวังแสง                                         ง.  ไม่มีข้อถูก
18.  ข้อใดกล่าวถูกต้อง
       ก.  ใช้วัดขนาด  ความยาว  ความกว้าง  หรือส่วนต่าง    ที่ไม่ต้องความละเอียดมากนักได้อย่างรวดเร็ว
       ข.  ใช้วัดขนาด  ความยาว  ความกว้าง  หรือส่วนต่าง    ที่ต้องการความละเอียดมาก
       ค. ใช้วัดขนาด  ความยาว  ความกว้าง  ฉาก
        ง.  ถูกทุกข้อ           
19.   การใช้ฉากทาบช่วยในข้อใด
        ก.  ช่วยบังคับฉากให้อยู่ในบรรทัด        
        ข.  ช่วยบังคับบรรทัดให้อยู่ในสภาพตั้งฉากกับหน้าเทียบ
        ค.  ช่วยให้ได้ศูนย์          ง.  ช่วยบังคับบรรทัดให้อยู่ในแกนเดียวกัน
 20.  ปกติบรรทัดเหล็กมีใช้อยู่  3  ขนาด  คือขนาดใดบ้าง
        ก.  30,100  ซม.  (1เมตร)   ข.  30,100  ซม.  (1เมตร)  และ  (2เมตร)
        ค.  100  ซม.  (1เมตร)  และ  (2เมตร)                       ง.  30,100,200  ซม.
21.  จากภาพเป็นการวัดแบบใด
      
                     
             ก.  การวัดแบบใช้ฉากทาบ    ข.  การวัดแบบตายตัว                                
              ค.  การวัดแบบค่านิยม                    ง.  การวัดแบบอิสระ                    

    22.  จากภาพในการวัดชิ้นงานมีค่าเท่าไร          

                                
                  ก.  3.3  นิ้ว                                                      ข.  3.4  นิ้ว
                  ค.  3.5  นิ้ว                                                   ง.  3.6   นิ้ว     

23.    จากภาพต่อไปนี้มีค่าเท่าไร

                            
ก.       4.4  นิ้ว                                                                        ข.  3.6  นิ้ว
ค.        3.5  นิว                                                                        ง.  3.7  นิ้ว
        24.  จากภาพเป็นการวัดแบบใด
                       
                    ก.  แบบเส้นแสง                                            ข.  แบบตายตัว
                    ค.  แบบฉากทาบ                                            ง.  แบบระดับน้ำ
            22.  จากภาพวัดแบบใด

ก.       วัดแบบ                                        ข.  วัดแบบมุมต่อมุม
              ค.    วัดแบบเส้นแสง               ง.วัดแบบเส้นขนาน
                 

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
1.           ก.
2.           ค.
 3.              .
 4.              .
 5.              ง.
 6.              .
 7.              .
 8.              .
9 .          ค.
                                                                                10.         ค.
11.         ก.
12.          ง.
13.          ก.
14.          ค.
15.          ค.
16.          ง.
17.          ก.
18.          ข.
19.          ก.
20.          ข.
                                                                            21.           ก.
                                                                            22.           ง.
                                                                            23.           ข.
                                                                            24.           ค.
                                                                                25.          ค.