วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

บทที่ ๔ Sine Bar

ซายบาร์
  จุดประสงค์การ เรียนรู้
                   จุดประสงค์ทั่วไป              เข้าใจเกี่ยวกับซายบาร์ 
                        จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม  หลังจากนักศึกษาผ่านการเรียนหน่วยนี้แล้วจะแสดงพฤติกรรม
                                                        ดังต่อไปนี้

      1.บอกลักษณะสร้างของซายบาร์ได้
       2.บอกลักษณะการวัดงานด้วยซายบาร์ได้
      3.อธิบายการวัดมุมด้วยซายบาร์ได้
       4.บอกการกำหนดขนาดของซายบาร์ได้
       5.บอกการกำหนดคุณภาพของซายบาร์ได้
       6.อธิบายวิธีการใช้ซายบาร์ได้
  7.ความสำคัญของการสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมือวัดได้
  8.บอกข้อควรระวังในการใช้ซายบาร์ได้

ซายบาร์
  1. ลักษณะสร้างของซายน์บาร์
          ลักษณะสร้างที่สำคัญของซายน์บาร์  คือลำตัวเป็นแท่งสี่เหลี่ยมยาว  ที่ปลายทั้งสองด้านทำเป็นบ่าฉากและมีเพลากลมติดอยู่  เพลากลมทั้งสองมีขนาดเท่ากัน ผิดด้านบนของซายน์บาร์ที่อยู่ตรงข้ามกับเพลากลมทั้งสองเป็นผิวขัดที่ราบและเรียบมากใช้สำหรับวางชิ้นงาน  ผิววางงานนี้จะอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางของเพลากลมทั้งสองเท่ากัน  ตรงกลางลำตัวของซายน์บาร์บางแบบจะเจาะรูเพื่อลดน้ำหนักและสะดวกในการใช้งานทั้งลำตัวและเพลากลมของซายน์บาร์ทำจากเกล็กเครื่องมือผ่านการชุบผิวแข็ง  เจียระไนและขัดผิวจนได้ขนาดและความเรียบตามที่ต้องการ
ลักษณะสร้างของซายน์บาร์มีหลายลักษณะทั้งนี้เพื่อให้เลือกใช้ได้เหมาะกับลักษณะของงานแต่ทุกลักษณะจะต้องอาศัยหลักการเดียวกัน
   

    2. ลักษณะงานที่วัดด้วยซายน์บาร์
          การวัดหรือตรวจสอบมุมภายนอกของงานที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยมและมีมุมไม่ควรเกิน 45  ให้ได้ค่าวัดองศาที่ละเอียดถึงลิปดาหรือฟิลิปดา  ไม่สามารถวัดได้โดยตรงด้วยเครื่องมือวัดเพียงชนิดเดียวจะต้องวัดด้วยวิธีผสมกัน  คือใช้เครื่องมือวัดหลายชนิดร่วมกัน  แล้วจึงคำนวณหาค่าวัดองศาที่แท้จริงของชิ้นงานชุดเครื่องมือวัดที่ใช้ประกอลกันเพื่อคำนวณค่าวัดองศาของชิ้นงานที่ใช้งานสะดวก  และรวดเร็วให้ค่าองศาละเอียดมากมีชื่อเรียกว่า  “ซายน์บาร์”






    3. วิธีการวัดมุมด้วยไซน์บาร์ (Sine bar)
          การวัดมุมด้วยไซน์บาร์  ใช้เมื่อต้องการจะวัดงานหรือปรับตั้งชิ้นงานเพื่อให้ได้มุมที่ละเอียดเที่ยงตรงไซน์บาร์เป็นแท่งที่ทำด้วยเหล็กกล้า  ผ่านการเจียระไน  และขัดผิวจนมัน (Iapping) ประกอบด้วยเพลากลมซึ่งติดอยู่ที่ปลายทั้งสองของแท่ง  ขนาดของเพลากลมทั้งสองจะเท่ากน และผิวหน้าเรียบหรือผิววางงานของไซน์บาร์  จะขนานกันเส้นผ่านศูนย์กลางของเพลากลมทั้งสองและระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางของเพลา  จะเป็นขนาดของไซน์บาร์  เช่น  ระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางของเพลาทั้งสองเท่ากัน  250  มม. (หรือ 10  นิ้ว)  จะเรียกว่า  เป็นไซน์บาร์ขนาด  250 มม. (หรือ  10  นิ้ว)  เป็นต้น  ไซน์บาร์มีหลายขนาดจะใช้ร่วมกับแท่นระดับและเกจเหลี่ยม  (gauge block)  และโดยเหตุที่มีการคำนวณใช้ค่ามุมของไซน์บาร์ (Sine)จึงเรียกเกจชนิดนี้ว่า ไซน์บาร์

    4. การกำหนดขนาดของซายน์บาร์
ซายน์บาร์มีหลายขนาดทั้งนี้เพื่อให้เลือกใช้ให้เหมาะกับขนาดความยาวของชิ้นงาน  ขนาดของซายน์บาร์มักจะเป็นจำนวนเต็มเพื่อง่ายต่อการคำนวณ  เช่น  100มม.  200 มม. ฯลฯ  โดยคิดจากระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางของเพลากลมทั้งสอง

    5. การกำหนดคุณภาพของซายน์บาร์
          ก่อนใช้ซายน์บาร์วัดมุมของชิ้นงานจะต้องเลือกซายน์บาร์ให้มีคุณภาพเหมาะกับค่าความละเอียดที่ต้องการเช่นงานที่ต้องการวัดค่าองศาที่ละเอียดมาก ๆ  จะต้องเลือกใช้ซายน์บาร์ที่มีคุณภาพที่ดีกว่างานที่ไม่ต้องการค่าวัดองศาที่ละเอียดมากนัก  ตามปกติแล้วคุณภาพของซายน์บาร์มี  2  เกรด  คือเกรด A  และเกรด   B  โดยคิดจากค่าผิดพลาดของระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางของเพลากลมทั้งสองคือ
          เกรด  A   ระยะห่างหระหว่างจุดศูนย์กลางของเพลากลมทั้งสองผิดพลาดได้ไม่เกิน  2.5 mm
          เกรด  B   ระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางของเพลากลมทั้งสองผิดพลาดได้ไม่เกิน  5.5   mm
          นอกจากนี้ซายน์บาร์ที่ถือว่ามีคุณภาพที่ดีและสามารถนำไปใช้งานได้จะต้องมีค่าผิดพลาดตามจุดต่าง ๆ  ไม่เกินค่าที่กำหนดให้ต่อไปนี้ คือ
จุดที่  1  ผิววางงานต้องไม่หยาบเกินกว่า  2.5  mm 
จุดที่  2  ระยะห่างระหว่างผิววางงาน ถึงจุดศูนย์กลางของเพลาทั้งสองต้องไม่แตกต่าง กันเกิน  5.1  mm
จุดที่  3  ความกลมและค่าความแตกต่างระหว่างขนาดของเพลากลมทั้งสองต้องไม่เกิน  2.4  mm
จุดที่  4  ความขนานระหว่างจุดศูนย์กลางของเพลาทั้งสองกับผิววางงานจะต้องแตกต่างกันไม่เกิน 2.5 mm

     6. วิธีใช้ซายน์บาร์
           
             ใช้ซายน์บาร์เพื่อวัดมุมของชิ้นงาน      เครื่องมืออื่น ๆ  ที่ใช้ประกอบ  คือเกจเหลี่ยม  นาฬิกาวัด   แท่นจับนาฬิกา  ใบวัดมุมสากลและโต๊ะระดับ  วิธีใช้ซายน์บาร์เพื่อวัดมุมของชิ้นงานนี้ก่อนอื่นต้องเลือกขนาดของซายน์บาร์ให้เหมาะสมกับขนาดของชิ้นงาน  และใช้ใบวัดมุมสากลวัดมุมโดยประมาณของชิ้นงาน  เพื่อนำไปคำนวณหาระยะความสูงที่แตกต่างกันของเพลาทั้งสอง(H)  ประกอบเกจเหลี่ยมให้ได้ความหนาตามที่คำนวณ  แล้วนำไปหนุนเพลากลมของซายน์บาร์ด้านใดด้านหนึ่งให้สูงขึ้น  วางชิ้นงานลงบนผิววางงานของซายน์บาร์  ประกอบนาฬิกาวัดกับแท่นยึด  เลื่อนนาฬิกาวัดเข้าหางานและปรับความสูงของนาฬิกาวัด        จนหมุดสัมผัสของนาฬิกาวัดสัมผัสกับผิวงานเลื่อนนาฬิกาวัดไปมาตามความยาวของผิวงานสังเกตทิศทางและระยะที่เข็มของนาฬิกาวัดเคลื่อนที่ไปมา  เพิ่มหรือลดความหนาของเกจเหลี่ยมจนได้ความหนาค่าหนึ่ง  ซึ่งเมื่อเลื่อนนาฬิกาวัดไปมาแล้วเข็มของนาฬิกาวัดไม่เคลื่อนที่อีก  ตำแหน่งนี้ผิวของชิ้นงานจะขนานกับผิวของโต๊ะระดับพอดี  เพราะฉะนั้นถ้าสามารถคำนวณค่าวัดที่ซายน์บาร์กระทำกับโต๊ะระดับได้ก็จะทำให้ทราบค่าวัดองศาของชิ้นงานด้วย

    7. ความสำคัญของการสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมือวัด
          เครื่องมือวัดถูกสร้างขึ้นสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้สามารถบอกค่าที่วัดชิ้นงานต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องแน่นอน  การที่จะเชื่อมั่นของการจัดจากเครื่องมือวัดว่ามีความถูกต้องได้ทุกครั้งนั้นเป็นสิ่งที่ต้องใช้วิจารณญารณ์ เป็นอย่างยิ่งเพราะเครื่องมือวัดที่ถูกสร้างขึ้นมาคงไม่สามารถคงสภาพการใช้งานได้ดีเหมือนเดินตลอด  ต้องมีความเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาทำอย่างไรจึงจะสร้างความเชื่อมั่นได้ว่าทุกครั้งที่มีการวัดชิ้นงานจะได้ขนาดที่ถูกต้องเป็นจริง  เครื่องมือวัดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการวัดชิ้นงานเพื่อผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้ได้ขนาดตามมาตรฐานที่กำหนดในแผนงานและสายการผลิต ถ้าเครื่องมือวัดขาดความถูกต้องชิ้นงานที่ออกมาจะไม่ได้มาตรฐานและที่ได้จากการวัดจึงจำเป็น

   8. ข้อควรระวังในการใช้ซายน์บาร์
          เนื่องจากซายน์บาร์เป็นเครื่องมือวัดที่ละเอียดอ่อน  มีราคาแพงและการวัดมุมของชิ้นงานแต่ละครั้งต้องใช้เวลา  ดังนั้นผู้ใช้จึงจำเป็นต้องใช้อย่างถูกวิธีและคำนึงถึงข้อควรระวังเพื่อมิให้ซายน์บาร์ชำรุดเสียหาย  และได้ค่าวัดองศาที่ละเอียดตามที่ต้องการ  ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎการใช้งานดังต่อไปนี้
          1.ต้องเลือกขนาดของซายน์บาร์ให้เหมาะสมกับขนาดของชิ้นงาน
          2.ต้องประกอบเกจเหลี่ยมเข้าด้วยกันอย่างถูกวิธี
          3.ชิ้นงานที่จะใช้วัดมุมด้วยซายน์บาร์จะต้องมีผิวเรียบ
          4.ให้วางตะแคงลงกับพื้น ห้ามวางตั้งขึ้น  เพราะจะทำให้ผิววางงานหรือผิวเพลากลมชำรุดเสียหาย
       5.ขณะใช้วัดมุมของชิ้นงาน  ระวังอย่าให้เพลากลมพลัดตกจากเกจเหลี่ยมมากระแทกกับพื้นโต๊ะระดับ
          6.ห้ามลากหรือเลื่อนซายน์บาร์ไปมาบนโต๊ะระดับ
          7.ขณะใช้วัดมุมของชิ้นงาน  จะต้องวางเกจเหลี่ยมตามแนวขนานกับเพลากลมของซายน์บาร์เพื่อไม่ให้
                 เพลากลมของซายน์บาร์พลัดตกจากเกจเหลี่ยมได้ง่าย

แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน

 ตอนที่  1  จงเลือกข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
 1.การวัดมุมด้วยซายบาร์ควรมีมุมไม่เกินกี่องศา
ก. 45  องศา                                                    ข.60 องศา
ค.  90  องศา                                                   ง.120  องศา
 2.เครื่องมือวัดซายบาร์ควรใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ใด
ก.เวอร์เนียคาลิปเปอร์                                          ข.ไม้บรรทัด
ค.เกจบล็อค                                                     ง.ค้อนตี
 3.ลักษณะสร้างของซายบาร์เป็นอย่างไร
ก.เป็นแท่งวงกลมยาว                                          ข.เป็นแท่งสี่เหลี่ยมยาว
ค.เป็นแท่งหกเหลี่ยมยาว                                      ง.เป็นแท่งหกเหลี่ยมสั้น
 4.เพราะสาเหตุใดซายบาร์บางตัวจึงมีการเจาะรู
ก.เพื่อลดน้ำหนักและความสะดวก                            ข.เพื่อใช้หาค่าองศา
ค.เพื่อสำหรับวางชิ้นงาน                                       ง.เพื่อสะดวกในการเก็บรักษา
 5.ตามปกติแล้วคุณภาพของซายบาร์มีกี่เกรด
ก.  1  เกรด                                                     ข.  2  เกรด
ค.   3  เกรด                                                    ง.   4   เกรด
 6.เราสามารถแบ่งวิธีการใช้ซายบาร์ออกได้เป็นกี่วิธี
ก.  1  วิธี                                                        ข.  3   วิธี
ค.   4   วิธี                                                      ง.  5   วิธี
 7.คุณภาพของซายบาร์เกรด  A  จะมีระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางของเพลากลมไม่เกินเท่าไหร่
ก.  1  mm                                                       ข.   1.5  mm
ค.  2  mm                                                       ง.  2.5  mm
 8.คุณภาพของซายบาร์เกรด  B   จะมีระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางของเพลากลมไม่เกินเท่าไหร่
ก.  4    mm                                                     ข.  4.5   mm
ค.  5    mm                                                     ง.  5.5  mm
 9.ผิววางงานต้องหยาบไม่เกินเท่าไหร่
ก.  2    mm                                                     ข.   2.5   mm
ค.  3    mm                                                     ง.  3.5     mm
 10.เมื่อไม่ใช้ซายบาร์ควรเก็บอย่างไร
ก.วางคว่ำลง                                                    ข.วางหงายขึ้น
ค.วางตะแคงลง                                                 ง.วางตั้งขึ้น


                        เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน

          ตอนที่ 1
1.ก                                 
2.ค                                 
3.ข                                 
4.ก                                 
5.ข                                 

                                                                      6.ก

                                                         7.ง
                                                         8.ง
                                                         9.ข
                                                         10.ค

           




























             ใบงานที่  1

             หน่วยที่   9

งานวัดละเอียด  ชั้น  ปวส.1  แผนกเทคนิคการผลิต  2554/1
สอนครั้งที่   9
ชื่อหน่วย  การคำนวณวัดมุมด้วยซายบาร์.
จำนวนคาบ   3   คาบ
ชื่องาน     การคำนวณวัดมุมด้วยซายบาร์.
.วรวิทย์  ตงศิริ  ผู้สอน
























หมายเลขชิ้นงาน…….…


          ผู้สอน                                                 นาย………………………. ……………..
       (อาจารย์วรวิทย์        ตงศิริ )                     แผนกเทคนิคการผลิต  ปวส.1   กลุ่มที่……เลขที่.......
      วันที่  2  สิงหาคม    ..2554                                วันที่…….เดือน…………………....2554