วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

บทที่ ๗ การใช้งานเกจก้ามปู




หน่วยที่ ๗
 การใช้งานเกจก้ามปู


2.  เกจก้ามปู  (Snap Gauge)
เกจก้ามปูอาศัยหลักการที่ว่า มีปากวัดตรวจสอบขนาดภายนอกอยู่ 2 คู่ เป็นปากวัดด้านพิกัดโตสุดและล่างสุด การวัดไม่สามารถรู้ขนาดงานที่แท้จริง รู้ได้แต่ว่างานที่ทำนั้นดีหรือเสียเท่านั้น
ลักษณะของเกจก้ามปูจะมีอยู่ 3 แบบคือ
2.1  มีปากวัดดี  (GO)  และปากวัดเสีย  (NO GO) อยู่บนลำตัวเดียวกัน แต่คนละข้าง ใช้วัดงานขนาดเล็ก
2.2  มีปากวัดดี  (GO) และปากวัดเสีย  (NO GO) อยู่บนลำตัวเดียวกัน และอยู่ข้างเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อมิให้ลำตัวของเกจยาวเกินไป ใช้วัดงานขนาดใหญ่
2.3  ทั้งปากวัดดี  (GO) และปากวัดเสีย  (NO GO) แยกกันอยู่ตัวละอัน เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บและบำรุงรักษา ใช้วัดเพลาขนาดโตตั้งแต่ 100 มม. ขึ้นไป
ขนาดของเกจจะมีพิกัดบอกกไว้เป็นไมโครเมตร  (UM)

เกจก้ามปูที่ใช้ตรวจสอบขนาดภายนอก                       เกจก้ามปูที่ใช้ตารางสอบเพลา


เท่ากับ  23  0.05  มม.                                   ขนาด  30  d9
          0.1  มม.

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Snap gage


รูปที่ 131  ลักษณะของเกจก้ามปู
การใช้งานของเกจก้ามปู

ขึ้นอยู่กับความรู้สึกสัมผัสของผู้ใช้ โดยมีหลักการใช้งานดังนี้
- ขนาดงานถูกต้อง ชิ้นงานผ่านปากวัดดีแต่ไม่ผ่านปากวัดเสีย ขนาดอยู่ในพิกัด
- ขนาดงานโตเกินไป ชิ้นงานไม่ผ่านปากวัดดี ขนาดของเพลาโตกว่าค่าพิกัด  ความเผื่อ ที่ยอมให้เพลามีขนาดโตสุดได้
-    ขนาดงานเล็กเกินไป ชิ้นงานผ่านได้ทั้งปากวัดดี และปากวัดเสีย ขนาดงานเล็กกว่าพิกัดความเผื่อที่ยอมให้มีขนาดเล็กที่สุดได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น