วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 3 การใช้งานเกจทรงกระบอก

หน่วยที่  การใช้งานเกจทรงกระบอก
1. เกจทรงกระบอก  (Limit plug gauge)
                 เป็นเกจที่ใช้สำหรับตรวจสอบขนาดภายในของงาน เช่น รูคว้าน การเจาะ การเจียระไน และอื่นๆ ขนาดของงานจำเป็นต้องมีค่าพิกัดความเผื่อ คือขนาดโตสุด และเล็กสุด ที่ยอมให้งานผิดพลาดได้ โดยที่งานนั้นไม่เสียหาย ขนาดของเกจชนิดนี้ที่กำหนดขึ้นมาจากค่าพิกัดทั้งสองนี้เอง
 
                 ลักษณะของเกจนี้ ปกติจะมีอยู่ 3 ส่วน คือ

            -    ส่วนด้าม ทำจากเหล็กอ่อนพิมพ์ลายไว้ ตรงกลางมีเลขบอกขนาดของเกจ      ด้านซ้าย และขวาของด้านจะมีตัวเลขบอกค่าพิกัด และเครื่องหมายบอก , ลบไว้ มีค่าเป็นไมโครเมตร
            -    ส่วนขวามือ  เรียกว่า ด้านเสีย” (NOT GO) จะทาสีแดงไว้ มีขนาดโตเท่ากับความโตสูงสุดที่ยอมได้
            -    ส่วนซ้ายมือ เรียกว่า ด้านดี  (GO)  มีขนาดยาวกว่าด้านเสีย มีขนาดเท่ากับขนาดโตในเล็กสุดของรู

การใช้งานของเกจทรงกระบอก
            เกจทรงกระบอกเป็นเครื่องมือ ที่ใช้ตรวจสอบว่าใช้ได้หรือไม่ได้เท่านั้น ไม่สามารถจะบอกขนาดของงานว่ามีขนาดเท่าใด การวัดต้องอาศัยความรู้สึกสัมผัส และวิธีการใช้ที่ถูกต้องให้ใช้ด้านที่เสียทดลองสวมดูก่อน แล้วจึงใช้ด้านดีทดลอง โดยมีหลัก  ดังนี้
            1.  ถ้าด้านดีสวมผ่านได้ แต่ด้านเสียไม่สามารถที่จะสวมผ่าน แสดงว่า ความโตของรูอยู่ในพิกัดความเผื่อ ใช้ได้
            2.  ถ้าด้านดีและด้านเสียไม่สามารถสวมผ่านแสดงว่าความโตของรูเล็กกว่าพิกัดความเผื่อใช้ไม่ได้
            3.  ถ้าทั้งด้านดีและด้านเสีย ไม่สามารถสวมผ่านได้หมด แสดงว่า ความโตของรูโตกว่าค่าพิกัดความเผื่อ ใช้ไม่ได้

            ขณะวัดงาน ควรให้เกจอยู่ด้านบนแนวตั้งฉากกับรูที่จะวัด และให้น้ำหนักเกจไหลเลื่อนลงมาด้วยน้ำหนักของตัวเกจเอง แต่ถ้างานอยู่ในแนวนอน ต้องใช้แรงดันลงเล็กน้อย

            ข้อควรระวังในการใช้เกจทรงกระบอก
            เนื่องจากมีราคาแพงและสร้างยาก เสียหายแล้วไม่สามารถที่จะปรับให้มีขนาดเท่าเดิมได้ ควรใช้อย่างระมัดระวัง มีข้อแนะนำดังนี้
            1.1  ทำสะอาดชิ้นงานและเกจก่อนการใช้ทุกครั้ง
            1.2  ผิวงานที่จะวัดอย่างน้อยต้องละเอียดเท่ากับ
            1.3  รูที่วัดควรทะลุตลิด หรือระบายอากาศได้
            1.4  ลบคมชิ้นงานก่อน
1.5  วางเกจให้อยู่ร่วมศูนย์กับงาน
1.6  เมื่อสวมลงไปแล้วอย่าหมุนเกจ
1.7  อย่าวัดงานที่กำลังหมุนหรืองานที่ร้อน
1.8  ขณะที่วัดให้จับที่ด้ามเท่านั้น
1.9  ควรวางในกล่องไม้
1.10  หลังใช้งานให้ทาด้วยน้ำมันแล้วเช็ดด้ายผ้าสะอาด
1.11  แยกเก็บอย่าให้ปนกับเครื่องมืออื่น

 แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน

เรื่อง เกจทรงกระบอก

 

วัตถุประสงค์   เพื่อให้สามารถใช้เกจทรงกระบอกตรวจสอบขนาดความโตในของรูงานได้อย่างถูกต้อง

 

เครื่องมือ            1.  เกจทรงกระบอก
2. ชิ้นงานประลอง  10 ชิ้น

วิธีการปฏิบัติงาน                1.     ทำความสะอาดชิ้นงานและตรวจสอบความเรียบร้อยของผิวงาน
                2.       ทำความสะอาดเครื่องมือวัดและตรวจสอบความสมบูรณ์
                3.       ใช้เกจทรงกระบอกตรวจสอบความโตในของรูตามแบบ
                4.       จดบันทึกลงในตารางโดยใส่เครื่องหมายถูกในช่องที่ตรวจสอบรูได้

ขนาดเกจทรงกระบอก
หมายเลขงาน
ขนาดพอดี
โตเกินไป
เล็กเกินไป

PG – 01




PG – 02




PG – 03




PG – 04




PG – 05




PG – 06




PG – 07




PG – 08




PG – 09




PG –10




วิเคราะห์ผลการประลอง
                       1.       ให้นักเรียนสลับกลุ่มตรวจผลการประลอง  แล้วเปรียบเทียบกับใบเฉลย
                       2.       นักเรียนวิเคราะห์ค่าผิดพลาดจากการวัด
                       3.       ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการประลอง

บันทึกข้อผิดพลาดและการแก้ไขจากการประลอง

สาเหตุของการผิดพลาดจากการวัด
วิธีการแก้ไขข้อผิดพลาดจากการวัด
………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………………..…………………………………………………………………..
………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………..…………………………………………………………………………


          ชื่อ  ………….............. นามสกุล  ………………………. รหัส………………………


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น