วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บทที่ ๑ เครื่องมือวัดและปัจจัยการวัด

หน่วยที่ 1  เครื่องมือวัดและปัจจัยการวัด

 วัตถุประสงค์ทั่วไป

            -    เข้าใจเกี่ยวกับความหมายของเครื่องมือวัดและปัจจัยการวัด

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

            -    หลังจากศึกษาของหัวข้อนี้แล้วผู้ศึกษาจะแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้
                     1. บอกความหมายของการวัดได้
                     2.  บอกปัจจัยของการวัดได้
                     3.  จำหลักการวัดได้
                     4.  บอกระดับของการวัดได้
                     5.  บอกชนิดของการวัดได้

เครื่องมือวัดและปัจจัยการวัด

1.  ความหมายของเครื่องมือวัด
            เครื่องมือวัดหมายถึง  การวัดขนาดที่ได้จากการใช้งานด้านโลหะซึ่งมีมาตรฐานและวิธีการวัดที่มาตรฐาน หน่วยวัดหรือหน่วยมาตรฐานจะใช้เป็นตัวเปรียบเทียบงานที่ได้จากงานวัดและการเปรียบเทียบเรียกว่า ค่าวัด โดยวัดอ่านได้โดยตรงจากเครื่องมือวัดหรือจากเข็มชี้มาตรา ฉะนั้นเครื่องวัดจึงเป็นเครื่องมือที่ใช้หาค่าวัด ซึ่งค่าวัดนั้นมีมากมายหลายอย่างเช่น วัดความยาว วัดน้ำหนัก วัดมุม เวลา อุณหภูมิ ความเข้มของแสง เป็นต้น

2. ปัจจัยการวัด
            ความละเอียดแน่นของการวัดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ของการวัด ซึ่งมีดังต่อไปนี้
            2.1 จากมาตรฐาน ซึ่งคุณสมบัติมีดังนี้
                           - สามารถลอกแบบได้
                           - เปรียบเทียบทางเรขาคณิตได้
                           - สัมประสิทธิขยายตัวคงที่เมื่อมีอุณหภูมิเข้า
                           - สามารถเปรียบเทียบมาตรฐานได้
                           - มาตรฐานไม่เปลี่ยนแปลง
                           - มีความยืดตัวใช้งานได้คล่องแคล่วว่องไว
            2.2 ชิ้นงาน ต้องมีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิตและความหยาบละเอียดของผิววัดออกมาเป็นค่าและผิวของงานต้องสะอาดและต้องเข้าใจลักษณะของการวัดที่เราจะวัด
            2.3 เครื่องมือวัด ต้องมีลักษณะละเอียดไม่ชำรุดและเวลาวัดเครื่องมือวัดต้องตั้งฉากกับงานเสมอ เครื่องมือวัดต้องสะอาด แรงที่กดวัดต้องเท่ากันเสมอ
            2.4 บุคคลที่มีคุณสมบัติในการวัด ต้องได้รับการฝึกอบรมและปฏิบัติงานอย่างชำนาญมีทักษะของการวัดมีความละเอียดรอบคอบและเข้าใจงานวัดเป็นอย่างดี รู้จักเลือกเครื่องมือที่มีคุณภาพและรู้จักวางแผนในการวัด
            2.5 สิ่งแวดล้อม  ควรมีอุณหภูมิเหมาะสมกับเครื่องมือวัดและความสว่างของแสงต้องมีความเข้มเพียงพอ

3. วิธีการจำหลักการวัด

             เพื่อสะดวกในการจำหลักการวัด จึงสร้างโค้ดขึ้นว่า “SWIPE” ซึ่งมาจากคำดังต่อไปนี้
            S       มาจาก    Standard             แปลว่า    มาตรฐาน
            W     มาจาก    Workpice            แปลว่า    ชิ้นงาน
            I        มาจาก    Instrument          แปลว่า    เครื่องมือ
            P       มาจาก    Person                แปลว่า    ตัวบุคคล
            E      มาจาก    Environment       แปลว่า    สิ่งแวดล้อม

4. ระดับการวัดงานในอุตสาหกรรม
            การผลิต   ต้องการความละเอียด  0.0254 มม.
            การตรวจสอบต้องการความละเอียด  0.00254 มม.
            การใช้เกจในห้องทดลองต้องการความละเอียด 0.000254 มม.
            การทำเกจมาตรฐานใช้ในห้องทดลองต้องการความละเอียด 0.0001016 มม.
            การวัดละเอียดในห้องทดลองต้องการความละเอียด 0.0000256 มม.
5. ชนิดของการวัด
            การวัดแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ การวัดโดยตรงและการวัดเปรียบเทียบ
            5.1 การวัดโดยตรง มักใช้กับเครื่องมือที่มีขีดมาตรฐานหรือสเกล
            เช่น      - เวอร์เนียคาลิปเปอร์
                        - ไมโครมิเตอร์
                        - บรรทัดเหล็ก
                        - ฉากเลื่อน
- ฉากผสม
             5.2 การวัดเปรียบเทียบ ต้องนำไปวัดกับเครื่องมือวัดอีกทีหนึ่ง
            เช่น      - เกจวัดลวด                - เกจวัดความหนา
                        - เกจวัดเกลียว             - เกจวัดรูปทรงกระบอก
                        - ฟิลเลอร์เกจ               - เกจรัศมี
- ปากวัดตายตัว          - เกจวัดเพลาเรียว

                 แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน

คำชี้แจง   ให้นักเรียนเลือกข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

1. ผลที่ได้จากการเปรียบเทียบกับมาตรฐานเรียกว่าอะไร
            ค่าเปรียบเทียบ
            . ผลลัพธ์
            . คำตอบ
            .  ค่าวัด
2. อะไรเป็นสิ่งที่ใช้หาค่าวัด
            . เครื่องมือวัด
            . เกจ
            . คาร์ลิปเปอร์
            .  ถูกทุกข้อ
3. ต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
            . มาตรฐานสามารถเปรียบเทียบได้
            . มาตรฐานลอกได้
            . ความหยาบละเอียดวัดออกมาเป็นค่าได้
            .  ถูกทุกข้อ
4. ต่อไปนี้ข้อใดผิด
            . ชิ้นงานที่วัดเป็นทรงเลขาคณิต
            . เครื่องมือวัดต้องไม่ชำรุด
            . แรงวัดที่กดไม่จำเป็นต้องเท่ากัน
            .  บุคคลต้องมีทักษะในการวัด
จากคำว่า “SWIPE” ใช้ตอบคำถามข้อ 5 ถึง 9
5. “S” หมายความว่าอย่างไร
            . Environment
            . Instrument
            . Standard
            .  Person
6. “W” หมายความว่าอย่างไร
            . Instrument
            . Person
            . Environment
            .  Workpice
7. “I” หมายความว่าอย่างไร
            . Workpice
            . Instrument
            . Person
            .  Environment
8. “P” หมายความว่าอย่างไร
            . Person
            . Instrument
            . Workpice
            .  Standard
9. “E” หมายความว่าอย่างไร
            . Instrument
            . Environment
            . Standard
            .  Workpice
10. การผลิตมีค่าความละเอียดเท่าใด
            . 0.0254 มม.
            . 0.00254 มม.
            . 0.000254 มม.
            . 0.0000256 มม.
11. การตรวจสอบมีค่าความละเอียดเท่าใด
            . 0.0001016 มม.
            . 0.0000256 มม.
            . 0.00254 มม.
            . 0.0254 มม.
12. การใช้เกจวัดในห้องทดลองมีค่ารวม
            . 0.000254 มม.
            . 0.0254 มม.     
            . 0.0000256 มม.
            .  0.00254 มม.
13. การทำเกจมาตรฐานในห้องทดลองมีค่าความละเอียดเท่าใด
            . 0.0000256 มม.
            . 0.0001016 มม.
            . 0.0254 มม.
            .  0.00254 มม.
14. การวัดละเอียดในห้องทดลองมีค่าความละเอียดเท่าใด
            . 0.0254 มม.
            . 0.00254 มม.
            . 0.000254 มม.
            .  0.0000256 มม.
15. การวัดแบ่งออกเป็นกี่อย่าง อะไรบ้าง
            . 2 อย่างคือ การวัดโดยตรง การวัดเปรียบเทียบ
            . 3 อย่าง คือ การวัดโดยตรง การวัดทางอ้อม วัดเปรียบเทียบ
            . 4 อย่าง คือ การวัดโดยตรง การวัดทางอ้อม วัดเปรียบเทียบ การวัดแบบประเมินค่า
            .  ถูกทุกข้อ

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน

1.     
2.     
3.     
4.     
5.     
6.     
7.     
8.     
9.     
10. 
11. 
12. 
13. 
14. 
15. 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น